จะบำรุงรักษารถบังคับวิทยุอย่างไร
เช่นเดียวกับรถยนต์ที่ขับขี่จริงทั่วๆ รถยนต์ หรือรถบรรทุกบังคับวิทยุไม่ว่าจะเป็นรถบังคับโดยระบบไฟฟ้า หรือ nitro ก็ต้องการการบำรุงรักษาภายหลังจากการวิ่งมาระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนการบำรุงรักษาบางชั้นตอนจะเป็นของเฉพาะรถบังคับระบบ nitro
ความยากในการบำรุงรักษา : ปานกลาง
ระยะเวลาที่ใช้ : ประมาณ 30-60 นาที สำหรับรถบังคับวิทยุภายหลังผ่านการวิ่ง และไม่มีรายการสำคัญที่ต้องซ่อมแซม
ขั้นตอนดำเนินการ
1. ตรวจสอบดูรอบคัน
ตรวจสอบดูรอบๆว่ามีความเสียหายใดๆเกิดขึ้นกับรถบังคับ ฯ หรือไม่ เช่น การหัก การบุบ การหลุดออกของโครง หรือบางชิ้นส่วน หรือยางรถ ซึ่งต้องการการซ่อมแซม
2. เช็ดรอบตัวรถ
เมื่อตรวจสอบรอบคันไม่พบว่ามีความเสียหายใดๆ ให้ใช้กระดาษทิชชู่ หรือผ้าขนหนู เช็ดทำความสะอาดรอบรถให้ทั่วคัน โดยในส่วนที่เล็กๆ หรือแคบ ซึ่งไม่สามารถใช้กระดาษทิชชู่ หรือผ้าขนหนูเช็ดได้ ให้ใช้แปรงสีฟัน หรือแปรงอื่นๆที่มีขนาดเล็กปัดฝุ่นทำความสะอาดแทน
3. ถ่ายน้ำมันออกจากถัง (Nitro)
ถ้าเป็นรถบังคับแบบ Nitro จะต้องถ่ายน้ำมันออกจากถังทั้งหมดเสมอ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการหดตัวของ nitro ภายในถัง ซึ่งจะทำความเสียหายอย่างมากต่อเครื่องยนต์ Nitro เป็นเชื้อเพลิงประเภทแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไวต่อความชื้น (น้ำ) ที่นำมาผสมกับ Nitro
4. ทำความสะอาด และเคลือบกรอกอากาศด้วยน้ำมัน (Nitro)
ไม่ว่าจะเป็นการแข่งรถที่สนามแข่ง หรือ ขับเล่นทั่วไป ความสกปรก ฝุ่น หรือเศษผงต่างๆสามารถเข้าไปอุดกรองอากาศได้ทั้งสิ้น ดังนั้นต้องทำความสะอาดกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด
5. เติมน้ำมันสำหรับหลังการเผาไหม้ (Nitro)
ภายหลังจากการแข่งรถบังคับอย่างหนักมาทั้งวัน รถบังคับ Nitro พร้อมที่จะหยุดพักแล้ว ดังนั้นอย่าลืมเติมน้ำมันสำหรับหลังการเผาไหม้ในกระบอกสูบ เพื่อทำให้หล่อลื่นทุกส่วนของเครื่องยนต์ให้พร้อมสำหรับการแข่งขันครั้งต่อไป ถ้าไม่ทำขั้นตอนนี้ จะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับกระบอกสูบ และ pocketbook
6. ตรวจสอบความเสียหายของยาง
รถบังคับระดับ Hobby Grade มีแรงหมุนมากในเครื่องยนต์กำลังแรง ซึ่งจะทำให้ยางหลวมได้ภายหลังการแข่งเป็นเวลานานทั้งวัน ตรวจสอบความเสียหายที่อาจเกิดกับยาง เช่น รอยบาด, เศษยางที่หลุดหาย เป็นต้น เปลี่ยนยางถ้าจำเป็น รวมทั้งติดกาวยางกับล้อใหม่ด้วย
7. ตรวจสอบ โช๊ค และระบบกันสะเทือน
ระบบกันสะเทือนจะถูกกระแทกเมื่อรถบังคับกระโดดเป็นระยะทางยาว หรือมีการกลับรถวงแคบ รวมถึงการขับผ่านสภาพขรุขระต่างๆ ตรวสอบระบบกันสะเทือน และเติมน้ำมันโช๊ค ถ้าจำเป็น
8. ตรวจสอบน๊อต /สกรู
น๊อต /สกรูต่างๆจะคลายลงตามเวลา แม้เพียงการวิ่งไม่กี่ครั้งของเครื่อง Nitro ก็สามารถทำให้น๊อต/สกรูหลวมได้ ให้ขันน๊อต/สกรูใหม่ให้แน่น โดยถ้าน๊อต/ สกรูป็นโลหะและยังไม่ได้เคลือบด้วย Loctite หรือมีตัวช่วยล็อคไม่ให้คลาย ให้เคลือบน๊อต/ สกรูเหล่านั้นเสียด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน สำหรับน๊อต สกรูที่เป็นพลาสติก ให้ขันใหม่ให้แน่น แต่อย่าขันแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ น๊อต / สกรูขาดได้
9. ตรวจ แบตเตอร์รี่
ถ้าคุณไม่มีแผนที่จะนำรถบังคับของคุณไปวิ่งอีกใน 1 สัปดาห์ จะดีกว่าหากคุณจะถอดแบตเตอร์รี่ออกจากรถ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสึกกร่อนที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด ซึ่งจะทำให้ต้องเสียค่าซ่อมที่แพงมาก
10. Charge แบตเตอร์รี่
ถ้าคุณจะนำรถไปแข่งในวันรุ่งขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องถอดแบตเตอร์รี่จากรถ แต่คุณต้องแน่ใจว่าคุณได้ charge แบตเตอร์รี่ 1 วัน หรือ 1 คืน ก่อนคุณจะนำรถไปแข่ง
11. ซ่อมส่วนต่างๆ
ซ่อม บำรุงส่วนต่างๆ เช่น ติดกาวชิ้นส่วนต่างๆที่อาจหัก หลุดออกมาใหม่ ปะรอยรั่ว และทาสีรถ ไม่ควรนำรถไปแข่งทั้งๆที่ต้องมีการซ่อมบำรุงที่สำคัญ เพราะจะทำให้รถของคุณเสียหายมากยิ่งขึ้น และอาจถึงขั้นไม่สามารถซ่อมได้อีกเลยก็ได้
เช่นเดียวกับรถยนต์ที่ขับขี่จริงทั่วๆ รถยนต์ หรือรถบรรทุกบังคับวิทยุไม่ว่าจะเป็นรถบังคับโดยระบบไฟฟ้า หรือ nitro ก็ต้องการการบำรุงรักษาภายหลังจากการวิ่งมาระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนการบำรุงรักษาบางชั้นตอนจะเป็นของเฉพาะรถบังคับระบบ nitro
ความยากในการบำรุงรักษา : ปานกลาง
ระยะเวลาที่ใช้ : ประมาณ 30-60 นาที สำหรับรถบังคับวิทยุภายหลังผ่านการวิ่ง และไม่มีรายการสำคัญที่ต้องซ่อมแซม
ขั้นตอนดำเนินการ
1. ตรวจสอบดูรอบคัน
ตรวจสอบดูรอบๆว่ามีความเสียหายใดๆเกิดขึ้นกับรถบังคับ ฯ หรือไม่ เช่น การหัก การบุบ การหลุดออกของโครง หรือบางชิ้นส่วน หรือยางรถ ซึ่งต้องการการซ่อมแซม
2. เช็ดรอบตัวรถ
เมื่อตรวจสอบรอบคันไม่พบว่ามีความเสียหายใดๆ ให้ใช้กระดาษทิชชู่ หรือผ้าขนหนู เช็ดทำความสะอาดรอบรถให้ทั่วคัน โดยในส่วนที่เล็กๆ หรือแคบ ซึ่งไม่สามารถใช้กระดาษทิชชู่ หรือผ้าขนหนูเช็ดได้ ให้ใช้แปรงสีฟัน หรือแปรงอื่นๆที่มีขนาดเล็กปัดฝุ่นทำความสะอาดแทน
3. ถ่ายน้ำมันออกจากถัง (Nitro)
ถ้าเป็นรถบังคับแบบ Nitro จะต้องถ่ายน้ำมันออกจากถังทั้งหมดเสมอ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการหดตัวของ nitro ภายในถัง ซึ่งจะทำความเสียหายอย่างมากต่อเครื่องยนต์ Nitro เป็นเชื้อเพลิงประเภทแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไวต่อความชื้น (น้ำ) ที่นำมาผสมกับ Nitro
4. ทำความสะอาด และเคลือบกรอกอากาศด้วยน้ำมัน (Nitro)
ไม่ว่าจะเป็นการแข่งรถที่สนามแข่ง หรือ ขับเล่นทั่วไป ความสกปรก ฝุ่น หรือเศษผงต่างๆสามารถเข้าไปอุดกรองอากาศได้ทั้งสิ้น ดังนั้นต้องทำความสะอาดกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด
5. เติมน้ำมันสำหรับหลังการเผาไหม้ (Nitro)
ภายหลังจากการแข่งรถบังคับอย่างหนักมาทั้งวัน รถบังคับ Nitro พร้อมที่จะหยุดพักแล้ว ดังนั้นอย่าลืมเติมน้ำมันสำหรับหลังการเผาไหม้ในกระบอกสูบ เพื่อทำให้หล่อลื่นทุกส่วนของเครื่องยนต์ให้พร้อมสำหรับการแข่งขันครั้งต่อไป ถ้าไม่ทำขั้นตอนนี้ จะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับกระบอกสูบ และ pocketbook
6. ตรวจสอบความเสียหายของยาง
รถบังคับระดับ Hobby Grade มีแรงหมุนมากในเครื่องยนต์กำลังแรง ซึ่งจะทำให้ยางหลวมได้ภายหลังการแข่งเป็นเวลานานทั้งวัน ตรวจสอบความเสียหายที่อาจเกิดกับยาง เช่น รอยบาด, เศษยางที่หลุดหาย เป็นต้น เปลี่ยนยางถ้าจำเป็น รวมทั้งติดกาวยางกับล้อใหม่ด้วย
7. ตรวจสอบ โช๊ค และระบบกันสะเทือน
ระบบกันสะเทือนจะถูกกระแทกเมื่อรถบังคับกระโดดเป็นระยะทางยาว หรือมีการกลับรถวงแคบ รวมถึงการขับผ่านสภาพขรุขระต่างๆ ตรวสอบระบบกันสะเทือน และเติมน้ำมันโช๊ค ถ้าจำเป็น
8. ตรวจสอบน๊อต /สกรู
น๊อต /สกรูต่างๆจะคลายลงตามเวลา แม้เพียงการวิ่งไม่กี่ครั้งของเครื่อง Nitro ก็สามารถทำให้น๊อต/สกรูหลวมได้ ให้ขันน๊อต/สกรูใหม่ให้แน่น โดยถ้าน๊อต/ สกรูป็นโลหะและยังไม่ได้เคลือบด้วย Loctite หรือมีตัวช่วยล็อคไม่ให้คลาย ให้เคลือบน๊อต/ สกรูเหล่านั้นเสียด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน สำหรับน๊อต สกรูที่เป็นพลาสติก ให้ขันใหม่ให้แน่น แต่อย่าขันแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ น๊อต / สกรูขาดได้
9. ตรวจ แบตเตอร์รี่
ถ้าคุณไม่มีแผนที่จะนำรถบังคับของคุณไปวิ่งอีกใน 1 สัปดาห์ จะดีกว่าหากคุณจะถอดแบตเตอร์รี่ออกจากรถ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสึกกร่อนที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด ซึ่งจะทำให้ต้องเสียค่าซ่อมที่แพงมาก
10. Charge แบตเตอร์รี่
ถ้าคุณจะนำรถไปแข่งในวันรุ่งขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องถอดแบตเตอร์รี่จากรถ แต่คุณต้องแน่ใจว่าคุณได้ charge แบตเตอร์รี่ 1 วัน หรือ 1 คืน ก่อนคุณจะนำรถไปแข่ง
11. ซ่อมส่วนต่างๆ
ซ่อม บำรุงส่วนต่างๆ เช่น ติดกาวชิ้นส่วนต่างๆที่อาจหัก หลุดออกมาใหม่ ปะรอยรั่ว และทาสีรถ ไม่ควรนำรถไปแข่งทั้งๆที่ต้องมีการซ่อมบำรุงที่สำคัญ เพราะจะทำให้รถของคุณเสียหายมากยิ่งขึ้น และอาจถึงขั้นไม่สามารถซ่อมได้อีกเลยก็ได้
Posted by:Sarantorn Bisalbutra
ID:4810750903
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น