ขั้นแรกที่ผู้ต้องการเป็นนักแข่งรถ RC ควรทำก็คือการให้เวลากับมันไม่ใช่เอาแต่ประกอบอย่างเดียวแต่ควรเรียนรู้และใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการประกอบว่าทุกๆส่วนของรถสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระไม่ติดขัดโดยเฉพาะช่วงข้อต่อระหว่างส่วนต่างๆของรถ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยโดยเฉพาะรถของ Yokomo ก็คือส่วนของเกียร์จะต้องไม่มีการติดขัด
ซึ่งก็มีวิธีการแก้อาการติดขัดทั้งหลายง่ายๆ ดังนี้
1. ทำความสะอาดตัวล้อหมุนสำหรับใส่สายพานของรถ
2. สายพานต้องไม่แน่นหรือตึงจนเกินไป
3. จุดที่สัมผัสการระหว่างส่วนต่างๆของรถต้องไม่คับหรือแน่นจนเกิดไปเพราะจะก่อเกิดแรงเสียดทานมาก เป็นต้น
ส่วนที่สำคัญอีกอย่างในการประกอบรถเบื้องต้นคือระวังไม่ให้สายพานสัมผัสกับส่วนของ electronic parts หรือว่าสายไฟ ซึ่งหากปฏิบัติตามข้อความเบื้องต้นแล้วก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซ่มและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่งให้รถของคุณอย่างแน่นอน
เตรียมความพร้อมก่อนการแข่ง (2)
การเตรียมรถให้พร้อมก่อนการแข่งขันเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับนักแข่งทุกคน คาดว่านักแข่งทุกคนก็คงไม่อยากจะไปยืนกระสับกระส่ายข้างๆสนามแข่ง ดังนั้นสิ่งแรกที่เราควรเตรียมพร้อมก็คือ ยางรถ ยางที่จะนำไปใช้แข่งควรเป็นยางใหม่ หรือ เกือบใหม่ (อาจเคยใช้ลองวิ่ง 1-2 รอบ) ซึ่งควรเป็นยางยี่ห้อและแบบที่เราแน่ใจว่าดี คือวิ่งแล้วตรง (ยางคุณภาพดีนั่นเอง) ยางที่ดีเมื่อเรานำมาใส่ที่ล้อแล้วควรจะมีพื้นผิวที่แบน ซึ่งอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่างๆที่ผู้แข่งควรเตรียมไว้สำหรับการปรับตกแต่งรถเพื่อใช้สำหรับแข่งขันนั้นมี
- Camber gauge
- Ride height gauge
- X-Acto
- Spring spacers
อุปกรณ์อื่นๆที่ใช้เพื่อปรับระยะสั้นยาวของโชค(shock)รถ
หลังจากที่เรานำล้อมาใส่รถของเราแล้วก็ทำอย่างไรก็ได้ให้น้ำหนักตัวของรถลดลง จากนั้นเราก็ปรับความสูงของรถโดยใช้สปริงเพื่อเว้นระยะของ shocks ถ้าหากคุณใช้รถของ Yokomo ควรปรับความสูงให้ได้ระหว่าง 4-6 มิลลิเมตร จะดีที่สุดและอีกอย่างที่สำคัญมากก็คือ ควรตั้งค่าความสูงของด้านหน้าและหลังให้เท่ากัน ส่วนยี่ห้ออื่นๆก็อย่าลืมว่ารถต่างยี่ห้อ ต่างรุ่นก็จะมีความสูงที่เหมาะสมต่างกันเพื่อให้การวิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุด ปัจจุบัน Yokomo USA version จะมีความยาวของ shockอยู่ที่ 71 มิลลิเมตร สำหรับด้านหน้าและ 69 มิลลิเมตร สำหรับด้านหลัง ที่ต้องนำเรื่องการปรับความสูงของรถมาแนะนำก็เพราะว่า เมื่อเราวางรถลงบนทางราบแล้ว เวลาที่เรายกรถขึ้นไม่ว่าจากทางด้านหน้ารถหรือหลังรถเราก็ควรจะมองเห็น down travel อยู่ใต้รถ หากมองไม่เห็นก็ต้องกลับไปเช็คและปรับความสูงของshock และตัวรถอีกทีทำเช่นนี้จนกว่าจะมองเห็นจากทั้งสองด้าน ซึ่งหากไม่ปรับให้ดีจะทำให้รถเกิดอาการกระตุกหรือส่ายได้เวลาวิ่ง
การปรับค่าองศาระหว่างล้อกับตัวรถ(camber)
ตามหลักแล้วเราควรปรับตามความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่แนะนำให้ว่าไม่ควรปรับเป็น positive (บวก) หรือเกินกว่า 3 องศา negative (ลบ) สำหรับ Yokomo จะปลอดภัยและดีที่สุดประมาณ 1 องศาลบ
Camber
การปรับแต่งเพื่อกันรถส่าย
ก่อนอื่นต้องล็อคทั้งด้านหน้าและหลังของรถไว้กับโต๊ะผิวเรียบ จากนั้นก็นั่งอยู่ด้านหลังรถให้รถอยู่ในระดับสายตา (มองจากท้ายรถ) วาง X-acto ไว้ตรงกลางรถ(chassis)แล้วยกรถขึ้นที่ฝั่ง จากนั้นก็สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นบาง เช่น ล้อวางอยู่ติดกับพื้นโต๊ะหรือไม่ หรือว่ามีล้อไหนลอยอยู่ หากทั้งสองล้อวางติดกับพื้นโต๊ะดีแล้ว ก็เปลี่ยนไปทำแบบเดียวกันที่ด้านหน้ารถ แต่ถ้าไม่ก็ให้สังเกตว่าล้อไหนลอยขึ้นมาก่อน สมมติว่าด้านขวาลอยขึ้นมาก่อนก็มีวิธีปรับ 2 แบบคือ ปรับให้ความยาวของ shock ด้านขวายาวขึ้น หรือว่าจะปรับให้ด้านซ้ายสั้นลงก็ได้ ทำแบบนี้จนกว่าเวลาทดสอบแล้วไม่มีล้อไหนลอยขึ้นทั้งด้านหน้าและหลัง ลองยกหลายๆครั้งเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน เมื่อปรับมุมล้อและความสูงของรถให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วก็เป็นอันว่าการปรับแต่งระบบกันสะเทือนเบื้องต้นค่อนข้างสมบูรณ์ นำรถที่ปรับแล้วมาลองวิ่ง สังเกตใต้ท้องรถว่าลากพื้นหรือไม่ หากไม่การปรับแต่งขั้นที่สองก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์พร้อมลงแข่ง
สู่สนามแข่ง (3)
ไม่เคยมีสนามแข่งไหนที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนไม่ยอมแชร์ข้อมูลต่างๆกับเพื่อนร่วมสนามอยู่แล้ว ดังนั้นวิธีง่ายๆก็คือถามคู่แข่งข้างๆว่ายางแบบไหนเหมาะกับสนามนี้ จากนั้นเราก็ลองเปลี่ยนแล้วลองวิ่งดูว่าเราชอบยางนั้นหรือไม่ หากรู้สึกแปลกๆขณะทดสอบก็ลองเปลี่ยนไปใช้แบบอื่นดู ในการแข่งขันสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือยางรถ ถ้าคุณไม่มียางที่ทุกคนเห็นพ้องว่าดีหรือยางที่เหมาะสมโอกาสที่คุณจะชนะก็จะน้อยลง อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการฝึกฝนก่อนแข่ง ไม่มีคำว่าพอกับการฝึกฝน เพราะเวลาที่ใช้ในการวิ่งแต่ละรอบเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าสิ่งใด การซ่อมหรือปรับแต่งรถที่สนามแข่งเป็นสิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันทุกคนไม่อยากให้เกิด แต่หากจำเป็นเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะซ่อมให้ตรงจุด หากรถส่ายก็ซ่อมเหมือนกับตอนที่เราเซทเพื่อกันรถส่าย ยางไม่ดีก็เปลี่ยนยาง
การบังคับควบคุมรถ การควบคุมกับการแต่งรถนั้นจัดเป็นคนละเรื่องกันเลยทีเดียว สำหรับตัว transmitter ขอแนะนำให้ใช้แบบ Dual rate เพราะสามารถใช้ได้ง่าย หากรถนั้นบังคับยากเลี้ยวยากก็ให้เพิ่ม Dual rate หากเลี้ยวง่ายไปก็ให้ไปลด Dual rate จริงๆแล้วก็แค่ปรับจนหาจุดที่สมดุลที่สุดของรถแต่ละคันนั่นเอง ถ้าหากว่ารถมีแรงผลักในการเข้าโค้งมากเกินไป คือเวลาเลี้ยวแล้วเกิดการ over-steer หรือการหลุดโค้ง ในสถานการณ์เช่นนี้ก็ให้ใช้ shock ขนาดเล็กที่สุดติดเข้าไปที่ shock ด้านหลังรถ ซึ่งช่วยเพิ่มความสูงของ shock ด้านหลัง ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องว่างด้านหลังช่วยให้ไม่หลุดโค้ง หากว่ารถเกิดอาการตรงกันข้ามคือเลี้ยวแบบหักศอกเวลาเข้าโค้งก็ให้แก้ไขสลับกัน นั้นคือใส่ shock ขนาดเล็กเข้าไปที่ shock ด้านหน้านั่นเอง ปรับไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้มุมการเลี้ยวที่สมดุล
Steering Dual Rate
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น